สาระน่ารู้

หนู (Rodents)

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

ลักษณะ/ชนิด

หนูในประเทศไทยมีด้วยกันหลายชนิดเท่าที่พบมี 36 ชนิด เพื่อให้เป็นการง่ายต่อความเข้าใจ เราสามารถจำแนกหนูได้เป็น 4 พวก ตามแหล่งที่อยู่อาศัยดังนี้

1. DOMESTIC RODENTS หนูพวกนี้อาศัยและหากินใกล้คนที่สุด อาศัยในบ้าน อาคารสถานที่บริเวณบ้าน ได้แก่ หนูท้องขาว (RATTUS RATTUS) หนูตัวเล็ก หนูหริ่ง (MUS MUSCULUS หรือ  HOUSE MOUSE) อาหารชอบกิน คือ ผลไม้ ผัก และเมล็ดพืชมากกว่าเนื้อสัตว์

2. COMMENSAL RODENTS หนูพวกนี้อาศัยบริเวณบ้าน โดยเฉพาะบริเวณรอบอาคารภายนอก ตามท่อระบายน้ำ กองขยะ ขุดรูอยู่แต่ไม่ชอบเข้าอยู่ตามอาคารบ้านเรือน กินอาหารได้ทุกประเภท มีขนาดใหญ่กว่าหนูพวก DOMESTIC RODENTS ได้แก่ NORVEGICUS หนูท่อ หนูขยะ

3.  FIELD RODENTS หนูพวกนี้อาศัยในทุ่งนา ทุ่งหญ้า ไร่ สวนผลไม้ ขุดรูอยู่ อาหารคือพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ถั่ว ได้แก่ พวกหนูพุกเล็ก (BENDICOTA BENAGLENSIS) หรือหนูพุกใหญ่ (BENDICOTA INDICA) เป็นต้น

4.  WILD RODENTS หนูพวกนี้อาศัยและกินอยู่ในป่า กินอาหารจำพวกเมล็ดพืช รากพืช ใบ แมลง หอย ปู ปลา เป็นต้น ไม่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนโดยตรงเท่าไรนัก แต่ก็มีความสัมพันธ์และก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขอยู่บ้าง เพราะมันสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคมาสู่หนูพวกอื่นได้

การเพาะพันธุ์

ชนิดของหนู วัยเจริญพันธุ์ (วัน) ระยะตั้งท้อง(วัน) จำนวนลูก

ต่อครอก

จำนวนครอกต่อปี อายุขัย (ปี)
เพศผู้ เพศเมีย
หนูนอร์เวย์ 90 – 150 80 – 120 21 – 23 4 – 14 6 – 8 2 – 3
หนูท้องขาว 70 – 90 60 – 90 21 – 23 1 – 9 2 – 6 1 – 2
หนูจิ๊ด 60 – 70 60 – 70 20 – 23 3 – 7 3 – 8 1 – 2

ลูกหนูที่เกิดใหม่ลำตัวสีแดง ส่วนตาและใบหูพับปิดสนิท ขนเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 3 – 4 วัน มีขนขึ้นเต็มตัวและหูได้ยินเสียงเมื่ออายุ 8 – 12 วัน ตาเปิดเมื่ออายุ 14 – 17 วัน ลูกหนูอายุ 3 สัปดาห์ เริ่มหย่านมและกินอาหารแข็ง ๆ เมื่ออายุ 1 เดือน ลูกหนูจะโตเต็มวัยพร้อมผสมพันธุ์ได้และออกจากรัง

การป้องกันและกำจัด

1.  ลดแหล่งขยะและกำจัดขยะเพื่อลดแหล่งอาหาร น้ำ และที่อยู่อาศัย

2.  ควบคุมแหล่งที่อยู่อาศัยของหนู เช่น กำจัดรูหนูหรือแหล่งอาศัย และการจัดเก็บอาหาร สินค้าให้เป็นระเบียบจะช่วยลดแหล่งอาศัยของหนูได้

3.  การใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น

4.  การใช้สารกำจัดหนู แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

-  ประเภทออกฤทธิ์เร็ว เช่น คูมาเตคตระลิล ฟูมาริน คูมาคลอ เป็นต้น

-  ประเภทออกฤทธิ์ช้า เช่น โบรไดฟาคุม โบรมาดิโอโลน เป็นต้น

แมลงสาบ (Cockroache)

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

แมลงสาบ จัดเป็นแมลงดึกดำบรรพ์ อาศัยอยู่บนโลก 250 ล้านปี (หลักฐานที่เป็นฟอสซิล) ทั่วโลกมีทั้งสิ้น 4,000 ชนิด xitgmL

แมลงสาบที่พบในประเทศไทย

-  แมลงสาบอเมริกัน (Periplaneta Americana)

-  แมลงสาบออสเตรเลีย (Periplaneta australasiae)

-  แมลงสาบเยอรมัน (Periplaneta germanica)

-  แมลงสาบฟูสิจิโนซ่า (Periplaneta fuliginosa)

-  แมลงสาบบรุนเนีย (Periplaneta brunnea)

ที่อยู่อาศัยและแหล่งเพาะพันธุ์ ที่ลับตา มืด อับชื้น ท่อระบายน้ำ ห้องครัว ตู้เก็บเอกสาร ห้องเก็บของ กล่องกระดาษ ลังไม้ คราบน้ำมัน คราบอาหาร รอยแตก รอยแยก รางเดินสายไฟ

การป้องกันและกำจัดแมลงสาบ แบ่งได้ 2 ประเภท

1.  ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมี ฉีดพ่นยาให้มีฤทธิ์ตกค้างบนพื้นผิว เพื่อการกำจัดตัวอ่อนที่จะฟักออกมา หรือเมื่อเกิดการระบาดโรยยาผงสำเร็จรูปในแหล่งที่ฉีดพ่นยาน้ำไม่ได้ หรือ ฉีดพ่นได้ไม่ทั่วถึง ใส่เหยื่อแมลงสาบชนิดเจล (GEL) ตามบริเวณแหล่งหลบ

2.  ป้องกันและกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี ใช้ฟีโรโมน วางแผ่นกาวเหนียวเพื่อดักจับ

แมงมุม (Spider)

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

แมงมุม (Spider) :  แมงมุมจัดอยู่ใน Class Arachnida : Order Araneae หรือ Araneida

ชนิดของแมงมุม สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม

1.  แมงมุมประเภทล่า

2.  แมงมุมที่สร้างตาข่ายเป็นกับดัก

แมงมุมที่มีพิษ ได้แก่ แมงมุมแม่บ้านดำ (Black widow spider) มักอาศัยอยู่ในที่มืด ในกองไม้ ตอไม้ รอยแตกของพื้น

แมงมุมที่พบในบ้านเราโดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ตามเพดานห้อง มุมห้อง เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือตามผนังที่มีรอยแตก บางชนิดชักใยเพื่อดักแมลงตัวเล็ก ๆ เพื่อกินเหยื่อ

อาหารของแมงมุม :  เพลี้ยอ่อน ไร ตัวหนอน แมลงวัน ด้วงเต่า

ลักษณะอาการเมื่อโดนแมงมุมกัด :  หลังจากถูกกัดมีอาการเจ็บบริเวณที่ถูกกัด เหงื่อออกมาก ปวดท้อง หายใจและพูดลำบาก อาการเป็นชั่วคราวแล้วก็หายเป็นปรกติในหนึ่งวัน

การป้องกันกำจัด :  การใช้สารเคมีกำจัดแมงมุม ได้แก่ azamethiophos, bendiocarb, diazinon, และ malathion ควรฉีดพ่นทุก ๆ 2 – 3 อาทิตย์ ต่อครั้ง

มด (Ants)

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

มดมีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของอัฟริกา/เมดิเตอร์เรเนี่ยนแพร่กระจายไปทั่วโลกโดยเส้นทางการขนส่งคมนาคมนานาชาติ ชอบอยู่ในที่มิดชิดสภาพที่ร้อนชื้น ในที่ซึ่งมีอากาศร้อน

ชนิดของมดที่พบในประเทศไทย

- มดแดง (Green tree ant/Weaver ant)

- มดสวน/มดหัวโต/มดง่าม (Big headed)

- มดดำ (Grazy ant)

- มดคันไฟ (Fire ant)

- มดผี/มดเหม็น (Ghost ant)

- มดเดียด (Pharaohs ant)

อาหาร – มดกินอาหารได้หลากหลายชนิด จำพวก แป้ง โปรตีน น้ำตาล ซากสัตว์ ผัก ผลไม้

แหล่งที่อยู่อาศัย

ใต้ก้อนหิน ขอนไม้ หรือวัสดุอื่น ๆ ที่อยู่ตามพื้นดิน อยู่บนต้นไม้ ตามกิ่ง ก้าน หรือลำต้นของต้นไม้ การป้องกันและกำจัดมด แบ่งได้ 2 ประเภท

1. ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมีทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ หรือหลบซ่อนตัว ด้วยสารเคมีที่มีพิษต่ำ

2. ป้องกันและกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี ใช้ฟีโรโมน วางแผ่นกาวเหนียวเพื่อดักจับ

ทำไมต้องไล่นก

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011
  • มูลนกก่อให้เกิดความสกปรกต่อสถานที่และทรัพย์สิน บ่อยครั้งทำให้สินค้าเสียหาย
  • มูลนกมีเชื้อโรคอยู่กว่า 60 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • ตัวนกมีไวรัสอยู่มากโดยเฉพาะนกพิราบ ซึ่งมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ
  • หากปล่อยไว้ จะเพิ่มจำนวนประชากรนกอย่างรวดเร็ว เพราะนกพิราบมีนิสัยรักที่อยู่อาศัย
  • อยู่จนชั่วลูกชั่วหลานและเป็นการชักชวนนกตัวอื่นๆให้มาอยู่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรู้สึกว่าปลอดภัย
  • เสียค่าใช้จ่ายและแรงงานในการทำความสะอาดมูลนก, รังนก, ซากนกที่ตาย
  • ทำให้พืชผลการเกษตรกรรมเสียหาย
  • สร้างความเสียหายให้กับโรงงาน, โรงไฟฟ้าจากการบินชนสายไฟส่งกำลัง, สถานีจ่ายไฟ
  • ก่อความรำคาญให้กับผู้อยู่อาศัย

ธรรมชาติของนกพิราบ

  • ชอบอาศัยอยู่ตามบ้านเรือน,โรงงาน,โรงเก็บสินค้า,ฯลฯ
  • ออกลูกเร็ว และบ่อยมาก เพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว
  • รักถิ่นที่อยู่อาศัย จะอยู่ตลอดไปถ้าได้ทำรังแล้ว

นกพิราบสร้างปัญหาอะไรให้เราบ้าง

  1. สร้างความสกปรกให้กับอาคารสถานที่, เครื่องจักร, สินค้า, ฯลฯ
  2. เป็นพาหนะนำเชื้อโรค, ไวรัสและแบคทีเรียหลายชนิด
  3. แพร่พันธ์เพิ่มจำนวนนกอย่างรวดเร็ว
  4. ก่อปัญหาท่อระบายน้ำอุดตัน จากการทำรังของมันหรือนกตาย
  5. ก่อความรำคาญให้กับผู้อยู่อาศัยหรือคนทำงาน

ชีววิทยาของยุง

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

ยุง (Mosquitoes)

ชนิดของยุงที่สำคัญ มี 4 ตระกูล ดังนี้

1.  ตระกูลยุงลาย (Genus Aedes)

มีขนาดค่อนข้างเล็ก บินได้ว่องไว บน scutum มีลายสีขาวรูปเคียว 2 อันอยู่ด้านข้าง มีขาลายชัดเจน เพาะพันธุ์ในภาชนะที่มีน้ำขัง กระบอกไม้ โพรงไม้ กะลามะพร้าว ใบไม้ ฯลฯ ชอบกัดกินเลือดคนมากกว่ากินเลือดสัตว์ มักหากินเวลากลางวันช่วงสายและบ่าย

2.  ตระกูลยุงคิวเล็กซ์หรือยุงรำคาญ (Genus Culex)

ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน เพาพันธุ์ในน้ำเสีย ตามร่องระบายน้ำ คูและหลุมบ่อต่าง ๆ ยุงชนิดนี้ชอบกัดสัตว์ พวกวัว ควายและหมูมากกว่าคน ออกหากินตอนกลางคืนและพลบค่ำ

3.  ตระกูลยุงก้นปล่อง (Genus Anopheles)

สังเกตยุงชนิดนี้ได้ง่ายเวลามันเกาะพัก จะยกก้นขึ้นเป็นปล่อง เพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่ง มีร่มเงาหรือลำธารเล็ก ๆ ที่มีแสงแดดส่องถึง ชอบกินเลือดคน

4.  ตระกูลยุงเสือหรือยุงฟิลาเรีย (Genus Mansonia)

ลำตัวและขามีลวดลายค่อนข้างสวยงาม บางชนิดมีสีเหลืองขาวสลับดำคล้ายลายของเสือโคร่ง ยุงเหล่านี้ชอบเพาะพันธุ์ในบริเวณที่เป็นหนอง คลอง บึง สระ ที่มีพืชน้ำพวก จอกและผักตบชวา ชอบกินเลือดวัว สุนัข แพะ สัตว์ปีกและคน เวลาที่ออกหากินมากที่สุดเป็นช่วงพลบค่ำและก่อนพระอาทิตย์ขึ้น อาจพบออกหากินเวลากลางวันในบริเวณที่มีความชื้นสูง มีร่มเงา

1.  การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น แหล่งน้ำขัง รางระบายน้ำ เป็นต้น

2.  การควบคุมโดยใช้สารเคมี

การใช้สารากธรรมชาติ เช่น ไพรีทรินซึ่งสกัดจากดอกเบญจมาศ

การใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำยุง ได้แก่ เทมีฟอส (temephos)

ชีววิทยาของแมลงวัน

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

แมลงวัน (Flies)

แมลงวันแบ่งเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1.  แมลงวันบ้าน (Housefly)  :  Musca domestica

ตัวสีเทาดำ ขนาด 5 – 6 มิลลิเมตร มีแถบตามยาวสีเทาเข้มหรือดำ 4 เส้น ที่ด้านบนของส่วนอก ส่วนปากเป็นซับดูด (Sponging type) ตัวเมียจะวางไข่และเจริญเติบโตในแหล่งอาหาร เช่น ขยะ เศษอาหาร หรือซากเน่าเปื่อย

2.  แมลงวันหลังลาย (Fleshfly)  :  Parasarcophaga ruficornis Fabricius

แมลงวันหลังลายมีลำตัวใหญ่สีเทา ขนาด 10 – 13 มิลลิเมตร ลักษณะเด่น คือมีแถบดำ 3 เส้น ตามยาวที่ส่วนอก ส่วนท้องด้านบนมีลายรูปเหลี่ยมสีเทาเข้มหรือดำ ตัวเมียจะวางไข่และเจริญเติบโตในตุ่มหนอง ผิวหนัง ซากเน่า อุจจาระ

3.  แมลงวันหัวเขียว (Blowfly)  :  Chrysomyia megacephala Fabricius

แมลงวันหัวเขียวมีลำตัวค่อนข้างใหญ่ ประมาณ 9 – 15 มิลลิเมตร สีเขียวอมน้ำเงินสะท้อนแสง มีหนวดแบบ arista ที่มีขนทั้งด้านบนและด้านล่าง ตัวเมียจะวางไข่ตามแหล่งที่มีอาหารเน่าเสีย ซากสัตว์ที่ตายใหม่ ๆ หรือตามกองขยะ

การป้องกันและกำจัด

1.  กำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ เช่น ทำความสะอาดแหล่งขยะและจัดเก็บหรือฝังกลบมูลสัตว์และซากเน่าเปื่อยให้เรียบร้อย

2.  การใช้สารเคมี เช่น เหยื่อพิษสำเร็จรูป

จิ้งจก (Lizard)

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

ชีววิทยา

  • ออกหากินในเวลากลางคืน
  • มีอาณาเขตอาศัยที่เฉพาะเจาะจง
  • ผิวหนังสามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย

อาหาร :  อาหารของจิ้งจกเป็นแมลงขนาดเล็ก และแมลงทั่วไปที่มาเล่นไฟ

วงจรชีวิต

  • ไข่ 40 – 45 วัน
  • ตัวอ่อน 3 เดือน
  • วัยเจริญพันธุ์ 3 – 5  ปี

การป้องกันและกำจัดตุ๊กแก

  • การควบคุมในเชิงป้องกัน คือ การลดช่องทางเสี่ยง เช่น ประตูทางเข้า – ออก
  • การใช้สารเคมี
  • การใช้กับดักแผ่นกาวสำเร็จรูป
  • วิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ศัตรูธรรมชาติ

ชีววิทยาของปลวก

วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 27th, 2011

ปลวก เป็นแมลงชนิดหนึ่งในอันดับ Isoptera Order มีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่ นับเป็นศัตรูสำคัญต่อเศรษฐกิจของทั้งประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำความเสียหายโดยการทำลาย อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง เครื่องเรือน กระดาษ และวัสดุสิ่งของที่ทำ จากฝ้าย เป็นต้น ในโลกปัจจุบันนี้มีการพบปลวกมากกว่า สองพันชนิด ในประเทศแถบ ร้อนจะมีปลวกชุกชุมที่สุด ปลวกแต่ละชนิดมีความเป็นอยู่และความต้องการ อาหารแตกต่างกันไป จึงใช้ความแตกต่างนี้แบ่งประเภทและที่อยู่อาศัยรวมถึงวิธีการป้องกันและกำจัด

ชนิดและประเภทของปลวก แบ่งได้ 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
- ปลวกที่อาศัยอยู่ในดิน
- ปลวกที่ไม่อาศัยอยู่ในดิน

ความต้องการของปลวก – เพราะปลวกต้องหาอาหารจึงเกิดการทำลายและต้องการความชื้นของดิน จึงเกิดวิธีกำจัดโดยใช้สารเคมี

อาหาร – อาหารของปลวกส่วนมากคือ เนื้อไม้ หรือสารที่มีเซลลูโลส เศษไม้ จะถูกย่อยโดยเชื้อ โปรโตซัว ซึ่งมีอยู่ในตัวของมัน

ชีวิตและความเป็นอยู่ของปลวก – ปลวกเป็นแมลงที่อยู่เป็นสังคม ประกอบด้วยวรรณะต่าง ๆ รวม 3 วรรณะ

1. ปลวกสืบพันธุ์ คือ ปลวกตัวผู้และตัวเมีย มีปีกและเพศดังแมลงอื่น ๆ ทั่วไป ตามปกติในรังหรืออาณาจักรจะพบปลวกคู่นี้ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และสืบพันธุ์ ตัวผู้เรียกว่าราชาปลวก และตัวเมียเรียกว่า ราชินีปลวก ออกไข่เกิดเป็นปลวกชนิดต่าง ๆ ในรัง นอกจากนี้ปลวกสืบพันธุ์ยังมีหน้าที่ กระจายพันธุ์และสร้างอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นอีกด้วย ปลวกชนิดนี้มีปีกทั้งตัวผู้และตัวเมียเรียกว่าแมลงเม่า เมื่อจับคู่ผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีก และเลือกสถานที่เหมาะสมเพื่อสร้างรัง และเกิดเป็นอาณาจักรใหม่ต่อไป

2. ปลวกงาน เป็นปลวกตัวเล็กไม่มีปีก ไม่มีเพศ และไม่มีตา อาศัยอยู่ในดินหรือเนื้อไม้ที่มันกัด และทำลาย มีหน้าที่ก่อสร้าง หาอาหารมาเลี้ยงปลวกวรรณะอื่น ๆ ปลวกชนิดนี้จะทำงานทุกอย่างภายในรัง

3. ปลวกทหาร เป็นปลวกตัวเล็กแต่มีหัวโต และขากรรไกรขนาดใหญ่เพื่อใช้ในการต่อสู้ ไม่มีปีก ไม่มีตา และไม่มีเพศ ปลวกชนิดนี้มีหน้าที่ปกป้องอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับรับ ศัตรูสำคัญของมันคือ มด

การเกิดและการขยายอาณาจักร

การเกิดอาณาจักร แมลงเม่ามักจะออกมาให้เราได้พบเห็นในบางโอกาสของปี ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาและตัวเมียจับคู่ผสมพันธุ์ ชนิดของปลวกไม้แห้งก็จะหารอยแตกแยกของเนื้อไม้ เพื่อสร้างรังใหม่ ชนิดปลวกใต้ดินก็จะหาแหล่งดินในบริเวณใกล้ ๆ แหล่งอาหาร เช่น บริเวณเศษไม้หรือรากไม้ในดินเพื่อสร้างรังใหม่

การขยายอาณาจักร เมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสมแมลงเม่าจะบินออกจากรัง ภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมและเผ่าพันธุ์ จะทำให้แมลงเม่าออกจากรังต่างวาระกัน ในภูมิอากาศที่ร้อน แมลงเม่าจะออกจากรังช่วงเวลาหลังฤดูฝน แมลงเม่าเหล่านี้จะบินเข้าอาคารเพื่อรับความอบอุ่นจากแสงไฟ หรือแสงอาทิตย์ และทำความรำคาญให้กับเรา

แมลงเม่าแต่ละคู่เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะเลือกสถานที่ สร้างรังใหม่ และภายใน 2 – 3 วัน จะเริ่มวางไข่ครั้งแรก ๆ จะมีไข่ไม่กี่ฟอง แต่ต่อไปจะเพิ่มจำนวนไข่มากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดอายุการเจริญเติบโตของมัน ไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนภายใน 30 – 50 วัน และตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนมากจะเป็นปลวกที่อยู่ในวรรณะ ปลวกทหาร และ ปลวกงาน แมลงเม่าคู่แรกที่สร้างรังจะเจริญเติบโตเป็นราชาปลวกและราชินีปลวก มีอายุยืนยาว และมีจำนวนไข่มากกว่า 3,000 ฟอง ต่อวัน จำนวนประชากรของปลวกในอาณาจักรมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ และแหล่งอาหาร

ความชื้น ปลวกและแมลงที่ต้องอาศัยความชื้น เพื่อให้เกิดน้ำในลำตัวตลอดเวลา ปลวกไม้แห้งจะปิดทางเข้าออกของรังอย่างมิดชิดในขณะที่อากาศภายนอกมีความชื้นต่ำ ปลวกใต้ดินจะปรับอากาศในรังหรือทางเดินให้เหมาสมโดยทำรังในดินที่มีความชื้นและมักจะเดินกลับเข้ารังวันละหลาย ๆ เที่ยว ในพื้นที่ชื้นและนี่คือวิธีที่ปลวกนำความชื้นเข้าสู่รังได้

การป้องกันและกำจัดปลวก แบ่งได้ 2 ประเภท

1. ป้องกันและกำจัดโดยใช้สารเคมี – SOIL TREATMENT – SUB SOIL TREATMENT – POWDER TREATMENT

2. ป้องกันและกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี สารยับยั้งการลอกคราบ (Insect Growth Regulator) (ไม่ต้องอัดน้ำยา กำจัดตายยกรัง)

การกำจัดปลวก แบบเอ๊กซ์เทอร์ร่า Exterra

วันพุธ, มกราคม 26th, 2011

ในบริษัทของเราขอเสนอระบบตรวจจับเหยื่อล่อปลวกเอ็กซ์เทอร์ร่า (Exterra)
ซึ่งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เป็นวิธีการกาจัดปลวกด้วยเหยื่อกาจัดปลวก หรือ Interception and Balting System ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้เคมีฉีดพ่นทั่วไป
  2. สถานีเหยื่อล่อปลวกมีขนาดใหญ่ มีความสามารถในการตรวจจับและกาจัดปลวกได้ดีกว่าระบบเหยื่อล่ออื่น ๆ
  3. มีสาร “ FOCUS ” ในสถานีเหยื่อล่อปลวก จะปล่อยก๊าส คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อดึงดูดปลวก เข้าสู่กับดัก ทาให้สามารถกาจัดปลวกได้ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยปลวกไม่รู้ตัว
  4. ไม่มีการรบกวนปลวกที่มาสู่กับดักทาให้สามารถกาจัดปลวกได้ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด
  5. ผลิตภัณฑ์ระบบเหยื่อล่อนี้ไม่จัดเป็นสารอันตรายตามเกณฑ์ของ NOHSC (National Occupational Health and
    Safety Commission) ประเทศออสเตรเลีย และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 469/2551 และใบอนุญาตจาก EPA สหรัฐอเมริกา

ระบบเหยื่อล่อปลวก ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก “กำจัดปลวกทั้งรังให้สิ้นซาก” การป้องกันปลวก ชนิดเดียวที่สามารถปกป้องทุกบริเวณบ้านอย่างสมบูรณ์แบบ

ดูข้อมูลเพิ่มเติม